วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 1  เดือนธันวาคม  พ.ศ.2557

เวลา  11.30-14.00  น.

กิจกรรมวันนี้

          เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้ายของภาคเรียนนี้ อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแต่ล่ะคนเขียนประเมินอาจารย์ผู้สอน โดยไม่ต้องเขียนชื่อเราลงไปว่า เรียนกับอาจารย์แล้วเป็นอย่างไร ได้รับความรู้จากการเรียนวิชานี้มากน้อยเท่าไหร่  และก็ได้รวบรวมคะแนนดาวเข้าเรียน สำหรับใครที่ได้ดาวเยอะอาจารย์ก็จะมีของรางวัลให้ 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

   เราต้องเก็บเกี่ยวเอาความรู้ที่ได้เรียนมาตั้งแต่ต้นเทอมยันท้ายเทอมสำหรับวิชานี้ให้มากๆ เพื่อที่ว่าจะได้นำไปใช้ในการฝึกสอนในวันข้างหน้า และรวบรวมสิ่งที่ได้จากการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนภายในห้องที่เราได้รับมา มาใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและสิ่งที่สำคัญที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษเราก็ต้องศึกษาหรือทำความเข้าใจในตัวของเด็กที่มีความบกพร่องในลักษณะนี้ให้มากๆ ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเด็กเหล่านี้ให้ได้ รวมถึงการสอนให้เขาได้เรียนรู้และช่วยเหลือตนเองให้ได้บ้าง จัดกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือเล่นได้ และก็ให้ความดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด




ครั้งที่ 13 
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 24  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.2557

เวลา 11.30-14.00  น.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

             เด็กสามาธิสั้น ADHD

การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น
1.การใช้ยา
   -ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการรักษา
   -ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
   -สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
   -ส่งผลให้การเรียนดี ความสัมพันธ์คนรอบข้างดีขึ้น
2.การปรับพฤติกรรม (การฝึกฝนการควบคุมตนเอง)
   -จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
   -ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งทีทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที
   -ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี หรือเข้ามาช่วยเหลืองานบางอย่าง
   -ลงโทษให้ถูกวิธี
3.การปรับสภาพแวดล้อม
   -สิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กจนมากเกกินไป
   -จัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
   -เวลาทำงาน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมา
การสื่อสารกับเด็กสามาธิสั้น
   -สังเกตว่าเด็กอยู่ในภาวะที่พร้อม หรือมีสมาธิ
   -ควรมีภาษาท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูดคุย
   -ใช้คำพูดที่กระชับ ได้ใจความชัดเจน
กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น
   -Physical Exertion ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
   -Self Control ควบคุมตนเอง
   -Relaxation ผ่อนคลาย
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
   -เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้
   -ควรเป็นโรงเรียนที่คุณครูมึความรู้ ความเข้าใจ ในโรคสมาธิสั้นดี
   -ให้ความร่วมมือในแนวทางช่วยเหลือต่างๆอย่างเต็มที่
   -สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย
   -โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง
บทบาทของครู
   -ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้ติดหน้าต่างหรือประตู
  -ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  -จัดให้เด็กนั่งติดกับนัดเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  -ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
  -ใช้วิธีลดระยะการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น
  -ไม่ควรลงโทษรุนแรง
  -ให้ความสนใจ และชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
  -การสื่อสารกับเด็กให้ถูกวิธี
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
   1.สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ)
   2.โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
   3.ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention : EI)
   4.โรงเรียนเฉพาะความพิการ
   5.สถาบันราชานุกูล
   6.มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง



สรุปโทรทัศน์ครู โรงเรียนอนุบาลสาธิตละอออุทิศ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)
 ตอน ''ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ''

ฝ่ายบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว
   1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ (อ.3 ขวบ แผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว)
   2.ประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
   3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ เฉพาะครอบครัว
   4.จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน (เน้นการเดิน ทักษะการสื่อสาร)
   5.การประเมินผล
*การสอนทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน (การกลืน การเคี้ยว)
การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
   -กิจกรรมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ (การทรงตัว การใช้มือ จะส่งเสริมทักษะทางสังคม)
   -กิจกรรมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้สัมผัส
   -กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและการสื่อสาร
   -กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและพื้นฐานวิชาการ
   -กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง การทรงตัว การสัมผัส 
สื่อที่ใช้สำหรับเด็กพิเศษ
   1.กระดานไวบอร์ด
   2.ไข่ปลอมจากแป้งโด
   3.ผลเงาะ
   4.ลูกโปร่งใส่น้ำ
   5.เครื่องกีดขวาง



การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำศิลปะบำบัดมาประยุกต์ใช้ในเด็กพิเศษกลุ่มผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถเสิมสร้างพัฒนาการและช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านอารมณ์-จิตใจ และพฤติกรรม ดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้เต็มที่ยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการไม่ส่งเสียงดังในห้อง เพราะจะเป็นการรบกวนเพื่อนข้างๆที่เขากำลังตั้งใจเรียนค่ะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆบางคนชอบคุยกันเสียงดัง จนทำให้อาจารย์ดุบ้างเล็กน้อย และบางคนก็ตั้งใจเรียนแล้วก็ไม่คุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สะอาด สุภาพ น่ารัก พูดเพราะ สอนเข้าใจง่ายและก็เข้าใจนักศึกษาว่าช่วงที่ใกล้จะสอบ งานบางวิชาก็มีเยอะแต่อาจารย์ก็ไม่ได้สั่งงานอะไร ชอบให้ทำงานกลุ่มในห้องและก็ให้ออกมานำเสนอ ถ้ามีเวลาเพียงพอให้แต่ล่ะกลุ่ม







ครั้งที่ 12
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 17  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.2557

เวลา  11.30-14.00  น.

กิจกรรมวันนี้

    เนื่องจากอาจารย์ได้งดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาไปจัดเตรียมงาน ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์ สืบทอดความเป็นไทย ในวันอังคาร ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ที่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จัดทำขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานาฏศิลป์และเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย พร้อมทั้งสรุปความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้



ภาพบรรยากาศภายในงาน
























การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำไปปรับใช้หรือสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นครูควรให้เด็กได้ปฏิบัติ ลงมือกระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตนเอง รวมทั้งการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมนั้นๆให้สำเร็จลุล่วง เปิดโอกาสให้เด็กได้กล้าคิด กล้าทำกล้าแสดงออก และตัดสินใจด้วยตนเอง ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่พึ่งประสงค์ต่อกระบวนการการจัดการเรียนที่ดีให้กับเด็กอีกด้วย






ครั้งที่ 11
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 10  เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557

เวลา 11.3-14.00 น.



เนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในวันนี้


การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กกล้าคิกกล้าแสดงออก
-เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้

เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
-เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เฉพาะ
-เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้ตามขั้นตอน
-เด็กสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม

ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆได้
-สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือตนเองได้
-สังคมยอมรับมากขึ้น
-ลดภาวะปัญหาทางพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Down's Syndrome
-เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม
-แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
-ด้านสุขภาพอนามัย
-ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ
-การดำรงชีวิตประจำวัน
-การฟื้นฟูสมรรถภาพ

การปฏิบัติของบิดา มารดา
-ยอมรับความจริง
-เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป

-ให้ความรักและความอบอุ่น
-การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
-การคุมกำเนิดและการทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ


Autistic
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
2.ส่งเสริมความสามารถเด็ก
3.พฤติกรรมบำบัด
4.ส่งเสริมพัฒนาการ
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
7.การรักษาด้วยยา
8.การบำบัดทางเลือก



การสื่อสารความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication;AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง(Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange  Communication System;PECS)
  • เครื่องโอภา(Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System(PECS)






ใช้โอภา รุ่น 2.3 อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร แบบพกพา สำหรับผู้ที่บกพร่อง ทางด้านการพูด



        โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้ กลับสู่เนื้อหาหลัก

คุณสมบัติ
  • สามารถบันทึกเสียง และเล่นเสียงข้อความที่บันทึกไว้
  • สามารถบันทึกได้ 60 ข้อความ ข้อความละ 4 วินาที แบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับละ 15 ข้อความ
  • สามารถบันทึกเสียงได้ใหม่ตลอดเวลา
  • สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ (single switch) ในหน้าที่การทำงานแบบสแกน ในการเล่นเสียงข้อความที่บันทึก
  • สามารถสั่งงานการเล่นเสียงข้อความที่บันทึกผ่านรีโมทได้
  • มีหลอดไฟขนาดเล็กแสดงสถานะการทำงาน
  • สามารถปรับความดังของเสียง และต่อสัญญาณเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงภายนอกได้
  • สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระบบประหยัดพลังงานได้ ขณะไม่ได้เล่นจะใช้กระแสไฟ 10 มิลลิแอมป์ ขณะเล่นจะใช้กระแสไฟ 80 มิลลิแอมป์ สามารถเล่นติดต่อกันได้นาน 7.5 ชั่วโมง สามารถเปิดเครื่องรอใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง
  • สามารถใช้ไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกผ่านหม้อแปลงไฟขนาด 9 โวลต์
  • สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ตลอดเวลา 


การนำไปประยุกต์
-เราสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ ทั้งยังสามารถนำไปสอนหรือจัดหากิจกรรมที่ส่งผลที่ดีให้กับเด็ก ส่งเสิมพัฒนาการในทุกๆด้านให้กับเด็กปฐมวัยได้

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและเก็บเกี่ยวเอาความรู้ที่ได้จากที่อาจารย์สอนมาเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆ บางคนยังคุยเสียงดังกันอยู่ ส่วนบางคนก็ตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายสุภาพ สะอาด ชอบที่อาจารย์ไม่ค่อยดุนักศึกษาค่ะ อาจารย์ใจดีและก็สอนสนุก สามารถอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในเรื่องที่กำลังสอนและเรียน


ครั้งที่ 10 
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 3 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.2557

เวลา 11.30-14.00 น.



กิจกรรมในวันนี้..................


อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบในแต่ล่ะข้อ พร้อมกับบอกคะแนนที่สอบว่าได้เท่าไหร่




การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัยได้ ทั้งยังสามารถนำไปสอนหรือจัดหากิจกรรมที่ส่งผลที่ดีให้กับเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้านให้กับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง
-วันนี้แต่งกายเรียบร้อย คะแนนที่สอบออกมาได้น้อยค่ะ สอบไม่ผ่าน รู้สึกผิดหวังในตัวเองเป็นอย่างมาก แต่ก็จะตั้งใจเรียนและพยายามทำคะแนนให้มากว่านี้ให้ได้ค่ะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆแต่ล่ะคนดูตื่นเต้นมากที่จะได้รับฟังคะแนนสอบจากอาจารย์ บางคนก็สอบได้ ส่วนบางก็สอบตก 

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สะอาด สุภาพ 


ค้นคว้าเพิ่มเติม.........





ครั้งที่ 9
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 27 เดือนตุลาคม  พ.ศ.2557

เวลา 11.30-14.00 น. 



วันนี้สอบกลางภาค

ในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษ



วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 8
บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่  20 เดือนตุลาคม  พ.ศ.2557

เวลา 11.30-14.00 น.


เนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
-มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
-แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
-มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
-ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
-ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงขึ้นไป
-ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม
และอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความพฤติกรรม (Conduct Disorders)
-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
-ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
-กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
-เอะอะและหยาบคาย
-หนีเรียน รวมถึงหนีออกจจากบ้าน
-ใช้สารเสพติด
-หมกหมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
-จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
-งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
-มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ หยุกหยิกไปมา
-พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
-มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอดตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
-หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
-เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
-ขาดความั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
-ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
-การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
-การปฏิเสธที่จะรับประทานอาหาร
-โรคอ้วน (Obesity)
-ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจารระและปัสสาวะ(Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
-ขาดเหตุผลในการคิด
-อาการหลงผิด (Delusion)
-อาการประสาทหลอน (Hallucination)
-พฤติกรรมการทำร้ายตนเอง 
สาเหตุ
-ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
-ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงอารการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
1.เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
2.เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น
(Children with Attention Deficit 
Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ
1.Inattentivenessn คือ สมาธิไม่ดี
2.Hyperactivity คือ อยู่ไม่นิ่ง
3.Impulsiveness คือ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ
Inattentivenessn (สมาธิสั้น)
-ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
-ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
-มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
-เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
-เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
-ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
-เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เหลียวซ้ายแลขวา
-ยุกยิก เกาะโน่นเกานี่
-อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
-นั่งไม่นิ่ง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
-ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
-ขาดความยับยั้งชั่งใจ
-ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
-ไม่อยู่ในกติกา
-ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
-พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
-ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
-ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
-พันธุกรรม
-สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
   สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด้กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
-ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
-เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
-ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ

เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปํญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



ความรู้ที่ได้รับ
      ได้เรียนรู้และเข้าใจอาการของเด็กพิเศษมากยิ่งขึ้น ว่าเป็นเช่นไร สาเหตุเกิดจากอะไร เราควรมีวิธีการที่จะต้องดูแลในลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสมในของเด็กแต่ละบุคคล 

การนำไปประยุกต์ใช้
-เพิ่มทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและเสริมสร้างพัฒนาการตามวัยให้กับเด็กพิเศษ
-สร้างความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อความสามารถของเด็ก และสร้างแรงจูงใจ ความเชื่อมั่นให้กับผู้ดูแลเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อยค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนแต่อาจมีง่วงบ้างเล็กน้อย แต่ก็พอเข้าใจในเนื้อหาค่ะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆ นั่งฟังที่อาจารย์สอนได้เป็นอย่างดีค่ะ แต่บางคนก็มีเสียงดังบ้างเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ สะอาด สอนให้ได้เข้าใจง่ายและอธิบายได้ละเอียดค่ะ




ครั้งที่ 7
บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่  13 เดือนตุลาคม  พ.ศ.2557

เวลา  11.30-14.00 น.


เนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในวันนี้..........

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Childern with Learning Disabilities)
-เรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disabilities)
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุ
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้
-กรรมพันธุ์

1.ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
-อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่่านไม่ได้ไปเลย
-ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
-อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำถึงจะอ่านได้
-อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
-เดาคำเวลาอ่าน
-อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
-อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
-ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
-ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
-เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2.ด้านการเขียน (Writing Disorder)
-เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
-เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
-เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
-ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
-เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน
-จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
-สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
-เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
-เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ 
-ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3.ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
-ตัวเลขผิดลำดับ
-ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
-ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
-ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
-นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
-คำนวณบวกลบคูรหารโดยการนับนิ้ว
-จำสูตรคูณไม่ได้
-เขัยนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
-ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
-ตีโจทย์เลขไม่ออก
-คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
-ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

ออทิสติก (Autistic)
-เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
-ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึก และความต้องการของผู้อื่น
-ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะของเด็กออทิสติก
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์กรอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถใการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุกสนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมติหรือเล่นลอกตามจิตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความน่าสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัดอย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
-มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
-มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
-สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
-ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
-การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
-การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

พฤติกรรมการทำซ้ำ
-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี่ไปห้องนู่น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

Autistic Savant
1.กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
2.กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinery) จะใชการคิดแบบนิรนัย (top down thinking)

ความรู้ที่ได้รับ
     ได้เรียนรู้เกี่ยวความบกพร่องทางด้านต่างๆของเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป และมีความสามารถที่ไม่เหมือนกัน เราควรที่จะต้องรู้และเข้าใจในตัวของเด็กอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการเลี้ยงดู ดูแลอย่างใกล้ชิด สังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่มีความบกพร่องในลักษณะนี้อีกด้วย และได้เข้าใจถึงสาเหตุ ลักษณะอาการของเด็กพิเศษเหล่านั้น




การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถหาสื่อหรือเทคนิดของรูปแบบการสอนที่ง่ายๆ ที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง แล้วนำไปสอนให้กับเด็กพิเศษให้ได้เกิดเรียนรู้ 

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังในเนื้อหาวิชาที่อาจารย์สอน จดบันทึกลงสมุด

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจนั่งฟังในเนื้อหาวิชาที่อาจารย์กำลังสอน 

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ สะอาด สามารถอธิบายและสอนได้อย่างเข้าใจ 

ค้นคว้าหาเพิ่มเติม
-