วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11
บันทึกอนุทิน

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันจันทร์  ที่ 10  เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557

เวลา 11.3-14.00 น.



เนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในวันนี้


การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กกล้าคิกกล้าแสดงออก
-เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้

เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
-เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เฉพาะ
-เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้ตามขั้นตอน
-เด็กสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม

ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆได้
-สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือตนเองได้
-สังคมยอมรับมากขึ้น
-ลดภาวะปัญหาทางพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Down's Syndrome
-เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม
-แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
-ด้านสุขภาพอนามัย
-ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ
-การดำรงชีวิตประจำวัน
-การฟื้นฟูสมรรถภาพ

การปฏิบัติของบิดา มารดา
-ยอมรับความจริง
-เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป

-ให้ความรักและความอบอุ่น
-การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
-การคุมกำเนิดและการทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ


Autistic
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
2.ส่งเสริมความสามารถเด็ก
3.พฤติกรรมบำบัด
4.ส่งเสริมพัฒนาการ
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
7.การรักษาด้วยยา
8.การบำบัดทางเลือก



การสื่อสารความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication;AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง(Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange  Communication System;PECS)
  • เครื่องโอภา(Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System(PECS)






ใช้โอภา รุ่น 2.3 อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร แบบพกพา สำหรับผู้ที่บกพร่อง ทางด้านการพูด



        โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้ กลับสู่เนื้อหาหลัก

คุณสมบัติ
  • สามารถบันทึกเสียง และเล่นเสียงข้อความที่บันทึกไว้
  • สามารถบันทึกได้ 60 ข้อความ ข้อความละ 4 วินาที แบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับละ 15 ข้อความ
  • สามารถบันทึกเสียงได้ใหม่ตลอดเวลา
  • สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ (single switch) ในหน้าที่การทำงานแบบสแกน ในการเล่นเสียงข้อความที่บันทึก
  • สามารถสั่งงานการเล่นเสียงข้อความที่บันทึกผ่านรีโมทได้
  • มีหลอดไฟขนาดเล็กแสดงสถานะการทำงาน
  • สามารถปรับความดังของเสียง และต่อสัญญาณเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงภายนอกได้
  • สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระบบประหยัดพลังงานได้ ขณะไม่ได้เล่นจะใช้กระแสไฟ 10 มิลลิแอมป์ ขณะเล่นจะใช้กระแสไฟ 80 มิลลิแอมป์ สามารถเล่นติดต่อกันได้นาน 7.5 ชั่วโมง สามารถเปิดเครื่องรอใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง
  • สามารถใช้ไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกผ่านหม้อแปลงไฟขนาด 9 โวลต์
  • สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ตลอดเวลา 


การนำไปประยุกต์
-เราสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ ทั้งยังสามารถนำไปสอนหรือจัดหากิจกรรมที่ส่งผลที่ดีให้กับเด็ก ส่งเสิมพัฒนาการในทุกๆด้านให้กับเด็กปฐมวัยได้

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและเก็บเกี่ยวเอาความรู้ที่ได้จากที่อาจารย์สอนมาเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆ บางคนยังคุยเสียงดังกันอยู่ ส่วนบางคนก็ตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายสุภาพ สะอาด ชอบที่อาจารย์ไม่ค่อยดุนักศึกษาค่ะ อาจารย์ใจดีและก็สอนสนุก สามารถอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในเรื่องที่กำลังสอนและเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น