ครั้งที่ 13
บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันจันทร์ ที่ 24 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 11.30-14.00 น.
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
เด็กสามาธิสั้น ADHD
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น
1.การใช้ยา
-ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการรักษา
-ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
-สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
-ส่งผลให้การเรียนดี ความสัมพันธ์คนรอบข้างดีขึ้น
2.การปรับพฤติกรรม (การฝึกฝนการควบคุมตนเอง)
-จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
-ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งทีทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที
-ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี หรือเข้ามาช่วยเหลืองานบางอย่าง
-ลงโทษให้ถูกวิธี
3.การปรับสภาพแวดล้อม
-สิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กจนมากเกกินไป
-จัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
-เวลาทำงาน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมา
การสื่อสารกับเด็กสามาธิสั้น
-สังเกตว่าเด็กอยู่ในภาวะที่พร้อม หรือมีสมาธิ
-ควรมีภาษาท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูดคุย
-ใช้คำพูดที่กระชับ ได้ใจความชัดเจน
กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น
-Physical Exertion ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
-Self Control ควบคุมตนเอง
-Relaxation ผ่อนคลาย
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
-เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้
-ควรเป็นโรงเรียนที่คุณครูมึความรู้ ความเข้าใจ ในโรคสมาธิสั้นดี
-ให้ความร่วมมือในแนวทางช่วยเหลือต่างๆอย่างเต็มที่
-สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย
-โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง
บทบาทของครู
-ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้ติดหน้าต่างหรือประตู
-ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
-จัดให้เด็กนั่งติดกับนัดเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
-ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
-ใช้วิธีลดระยะการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น
-ไม่ควรลงโทษรุนแรง
-ให้ความสนใจ และชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
-การสื่อสารกับเด็กให้ถูกวิธี
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ)
2.โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
3.ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention : EI)
4.โรงเรียนเฉพาะความพิการ
5.สถาบันราชานุกูล
6.มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง
สรุปโทรทัศน์ครู โรงเรียนอนุบาลสาธิตละอออุทิศ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)
ตอน ''ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ''
ฝ่ายบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว
1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ (อ.3 ขวบ แผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว)
2.ประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ เฉพาะครอบครัว
4.จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน (เน้นการเดิน ทักษะการสื่อสาร)
5.การประเมินผล
*การสอนทักษะพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน (การกลืน การเคี้ยว)
การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
-กิจกรรมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ (การทรงตัว การใช้มือ จะส่งเสริมทักษะทางสังคม)
-กิจกรรมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้สัมผัส
-กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและการสื่อสาร
-กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและพื้นฐานวิชาการ
-กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง การทรงตัว การสัมผัส
สื่อที่ใช้สำหรับเด็กพิเศษ
1.กระดานไวบอร์ด
2.ไข่ปลอมจากแป้งโด
3.ผลเงาะ
4.ลูกโปร่งใส่น้ำ
5.เครื่องกีดขวาง
การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำศิลปะบำบัดมาประยุกต์ใช้ในเด็กพิเศษกลุ่มผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถเสิมสร้างพัฒนาการและช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านอารมณ์-จิตใจ และพฤติกรรม ดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้เต็มที่ยิ่งขึ้น
ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการไม่ส่งเสียงดังในห้อง เพราะจะเป็นการรบกวนเพื่อนข้างๆที่เขากำลังตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆบางคนชอบคุยกันเสียงดัง จนทำให้อาจารย์ดุบ้างเล็กน้อย และบางคนก็ตั้งใจเรียนแล้วก็ไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สะอาด สุภาพ น่ารัก พูดเพราะ สอนเข้าใจง่ายและก็เข้าใจนักศึกษาว่าช่วงที่ใกล้จะสอบ งานบางวิชาก็มีเยอะแต่อาจารย์ก็ไม่ได้สั่งงานอะไร ชอบให้ทำงานกลุ่มในห้องและก็ให้ออกมานำเสนอ ถ้ามีเวลาเพียงพอให้แต่ล่ะกลุ่ม